บทความสุขภาพ
Knowledge
พญ. สมฤดี อุปลวัณณา
จากสถิติมะเร็งในสตรีไทยของ Globocan ปี 2020 พบว่า มะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ และเป็นมะเร็งที่มีอัตราการตายเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงทั่วโลก สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกือบ 100% เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ที่มีชื่อเต็มคือ Human papilloma virus โดยเชื้อ HPV จะเข้าไปเปลี่ยนเซลล์ปากมดลูกให้มีความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
ปัจจุบันแพทย์จะแนะนำให้ผู้หญิงเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV หรือที่เรียกว่า HPV วัคซีน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก (https://www.praram9.com/cervical-cancer/)
HPV vaccine เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Human papilloma virus หรือ HPV ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกซึ่งติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดยไวรัส HPV แบ่งออกเป็น สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง (high risk HPV) ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 45, 52, 58 และสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (low risk HPV) ที่ก่อให้เกิดโรคหูด เช่น สายพันธุ์ 6 ,11
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมี 3 ชนิด ได้แก่
ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือยังมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ อาจจะเคยมีการติดเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว แต่แพทย์ก็ยังคงแนะนำให้ฉีด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ได้มีการติดเชื้อมาก่อน และยังสามารถป้องกันการติดเชื้อไปสู่คู่นอนได้อีกด้วย
ถึงแม้ว่า HPV vaccine จะถือว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับสตรีตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่แนะนำให้ฉีดเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ถ้าฉีดวัคซีน HPV 1-2 เข็มไปแล้วบังเอิญตั้งครรภ์ แนะนำให้ฉีดเข็มที่เหลือจนครบ 3 เข็มในช่วงหลังคลอด หรือช่วงให้นมบุตร อย่างไรก็ตามในงานวิจัยยังไม่พบว่าวัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีผลเสียต่อการตั้งครรภ์และทารก เช่น แท้ง ทารกพิการ และการคลอดก่อนกำหนด จึงไม่มีข้อบ่งชี้ให้ยุติการตั้งครรภ์ ถ้าได้ตั้งครรภ์ในช่วงที่ฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกยังคงมีประโยชน์ ถึงแม้ว่าจะเคยติดเชื้อไวรัส HPV มาแล้ว เพราะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV ในสายพันธุ์อื่น ๆ ที่ยังไม่เคยติดเชื้อมาก่อนได้
หลังจากฉีดวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงที่พบได้ ได้แก่ อาจมีอาการปวด บวม แดง คัน มีจ้ำเลือด มีตุ่มนู่นบริเวณที่ฉีด และอาจมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบเล็กน้อย ซึ่งพบได้หลังฉีดวัคซีนไปแล้ว 1-15 วัน เช่น ปวดศีรษะ, มีไข้, คลื่นไส้, เวียนศีรษะ, อ่อนเพลีย, ถ่ายเหลว, เจ็บช่องปากและคอ และมีอาการปวดท้องบริเวณช่องท้องส่วนบน
หลังฉีด HPV vaccine แล้วสามารถป้องกันโรคได้นานกว่า 10 ปี และจากข้อมูลพบว่าหลังจาก 10 ปี วัคซีนยังคงมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90% จึงยังไม่มีคำแนะนำให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ
ในกลุ่มที่ได้รับ HPV vaccine ชนิด 2 และ 4 สายพันธุ์ ครบ 3 เข็มมาก่อนหน้านี้ และอยากฉีด HPV vaccine ชนิด 9 สายพันธุ์สามารถทำได้ ในกรณีนี้จะเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจาก 70% เป็น 90% และควรเริ่มต้นฉีดวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์เข็มแรกห่างจากเข็มสุดท้ายของวัคซีนชนิด 2 และ 4 สายพันธุ์ อย่างน้อย 12 เดือน แต่หากมีข้อติดขัดเรื่องค่าใช้จ่ายแพทย์อาจจะไม่ได้แนะนำการฉีด HPV vaccine ชนิด 9 สายพันธุ์ซ้ำเพราะวัคซีนชนิด 2 และ 4 สายพันธุ์ก็มีประสิทธิภาพการป้องกันได้ถึง 70%
พญ.สมฤดี อุปลวัณณา สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวชวิทยา ได้ฝากคำแนะนำเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และวัคซีนมะเร็งปากมดลูกสำหรับผู้อ่านทุก ๆ ท่านว่า
“มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกที่เป็นการป้องกันขั้นเริ่มแรกโดยเป็นการป้องกันปากมดลูกไม่ให้ติดเชื้อ HPV และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการป้องกันระยะที่สอง ซึ่งคือการตรวจคัดกรองหารอยโรคเพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที ทั้งนี้การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน HPV และการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกได้เป็นอย่างดีค่ะ”
ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง (0)
ดูทั้งหมด
บทความที่เกี่ยวข้อง (10)
ดูทั้งหมด
Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital