Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

กรดไหลย้อน…ผิดที่พฤติกรรม

นพ.มงคล ตัญจพัฒน์กุล

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 พฤษภาคม 2019

“กรดไหลย้อน เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา” ทานกาแฟและน้ำอัดลม โดยอาการกรดไหลย้อนนั้น เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นสูง ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร สาเหตุการเกิดโรค เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น ชอบกินจุบกินจิบ กินอาหารไม่เป็นเวลา กินอาหารแบบเร่งรีบ กินอาหารรสจัด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ทานกาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงการทานอาหารก่อนนอน

ข้อบ่งชี้การเกิดโรค

โรคกรดไหลย้อนนั้น มีอาการเบื้องต้นคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะ คือ มีอาการปวดท้อง ปวดแสบร้อนในช่องท้องส่วนบน เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก แต่จริงๆ แล้วจะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย โดยอาการแบ่งเป็น 2 ระบบ 

  1. อาการในหลอดอาหาร เช่น เจ็บคอ กลืนอาหารลำบาก จุกแน่นแถวหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย อาการนี้มักจะเป็นมากขึ้นหลังอาหารมื้อหลัก รู้สึกเหมือนมีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่มะเร็งได้
  2. อาการนอกหลอดอาหาร เสียงเปลี่ยน เสียงแหบเรื้อรัง ไอเรื้อรัง บางรายอาจมีอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด หรืออาการเจ็บหน้าอกได้

การดูแลป้องกัน

โรคกรดไหลย้อนสามารถดูแล บรรเทาอาการ และรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆให้เหมาะสม เช่น การทานอาหารให้ตรงเวลา การลดน้ำหนักเพื่อลดความดันในช่องท้อง การงดสูบบุหรี่ งดรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง งดอาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอัดลม เบียร์ สุรา 

การรักษาทางการแพทย์

การรักษาทางการแพทย์นั้นจะดูแลตามความรุนแรงของอาการ หากเป็นอาการเบื้องต้นแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดการอักเสบควบคู่กับยาลดกรด แต่หากมีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจใช้การผ่าตัด เพื่อปรับหูรูดกระเพาะอาหารร่วมด้วย การดูแลสุขภาพในช่องท้องให้สมบูรณ์แข็งแรง  จึงต้องดูแลตัวเองให้เหมาะสม ทานอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากมีอาการเจ็บป่วย ควรรีบมาพบแพทย์เพราะอาจจะมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารได้ 

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.มงคล ตัญจพัฒน์กุล

นพ.มงคล ตัญจพัฒน์กุล

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา