บทความสุขภาพ

Knowledge

ขลิบปลายอวัยวะเพศชาย คืนความมั่นใจให้กับคุณ

นพ. ประภากร ก๋งอุบล

ทำไมต้องขลิบปลายอวัยวะเพศชาย?


ปกติแล้ว เด็กผู้ชายแรกเกิดหนังหุ้มปลายจะยังปิดอยู่ แต่จะมีรูเล็ก ๆเปิดให้สามารถปัสสาวะได้ เมื่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้น จะสามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือของคุณพ่อคุณแม่ในการช่วยหมั่นค่อย ๆ พยายามรูดเปิด และทำความสะอาดทุกวัน ก็จะสามารถรูดเปิดพ้นส่วนหัวของอวัยวะเพศชายได้เองในที่สุด


แต่ในบางรายที่หนังหุ้มปลายตีบมาก ทำให้ปัสสาวะลำบาก เด็กจะร้อง เพราะเจ็บตอนปัสสาวะ จากการที่หนังหุ้มปลายโป่งพองตอนปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะตามมาได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องขลิบหนังหุ้มปลายตั้งแต่วัยเด็ก


ในผู้ใหญ่บางราย สามารถรูดเปิดหนังหุ้มปลายได้ แต่มีการรัดตึงของหนังส่วนปลาย ทำให้มีอาการปวดบวมส่วนหัวอวัยวะเพศเวลาแข็งตัว และเวลามีเพศสัมพันธ์ ทำให้ต้องขลิบหนังหุ้มปลาย หรือในกรณีมีการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังจากโรคเบาหวาน หรือในรายที่รูดเปิดหนังหุ้มปลายได้ไม่สุด เกิดการหมักหมมของเชื้อโรคข้างใน เกิดการอักเสบติดเชื้อ ทำให้ต้องทำการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศออก


“การผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถทำได้ทุกช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด ไปจนถึงวัยสูงอายุ” ทั้งนี้ถ้าเป็นเด็กเล็กมาก ๆ จะต้องทำโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและทำในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม


ประโยชน์ของการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย


  1. ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาดอวัยวะเพศ ลดการหมักหมมของเชื้อโรคและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่อาจทำให้มีปัญหากับคู่นอนได้
  2. ลดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ในกรณีที่หนังหุ้มปลายตีบแคบมากจนปัสสาวะลำบาก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  3. ลดการเกิดหนังหุ้มปลายอักเสบ (balanitis) ที่มักเกิดจากการรูดเปิดล้างได้ไม่ดี หรือมีโรคเบาหวานร่วมด้วย
  4. ลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง HIV แต่อย่างไรก็ตาม แนะนำใช้ถุงยางอนามัยเพราะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
  5. แก้ปัญหาหนังหุ้มปลายตีบตัน (phimosis) ซึ่งคือการรูดเปิดหนังหุ้มปลายไม่ได้
  6. ป้องกันการเกิดหนังหุ้มปลายบีบรัด (paraphimosis) ที่มักพบหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองแล้วรูดหนังหุ้มปลายกลับไปปิด ทำให้เกิดการบีบรัด และมีอาการปวดบวมส่วนปลายของอวัยวะเพศ จนทำให้ต้องมาโรงพยาบาล
  7. ตรงกับข้อกำหนดตามหลักศาสนาอิสลาม ที่เรียกว่า “การทำสุหนัต”
  8. ลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ
  9. ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น เรื่องความสวยงามในการเปิดให้เห็นส่วนหัวอวัยวะเพศชาย, ความสุขระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ที่มากขึ้นจากการที่ไม่มีหนังหุ้มปิด ทำให้รับสัมผัสได้เต็มที่ระหว่างมีเพศสัมพันธ์, ช่วยแก้ปัญหาเรื่องหลั่งเร็วเพราะเชื่อว่า เมื่อหัวส่วนปลายอวัยวะเพศเปิด ก็จะเสียดสีกับสิ่งรอบ ๆ ตลอดเวลา ลดความไวต่อสัมผัส ลดความรู้สึก ทำให้หลั่งช้าลง

การขลิบหนังหุ้มปลายทำอย่างไรและต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?


  • เป็นวิธีการขลิบปลายหนังหุ้มอวัยวะเพศชายแบบชิดหัว เพื่อพยายามซ่อนรอยแผลเป็นให้ได้มากที่สุด
  • ระยะเป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่มีการดมยาสลบหรือบล็อคหลัง เพียงแค่ฉีดยาชาเท่านั้น ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนผ่าตัด
  • ต้องแจ้งแพทย์เรื่องโรคประจำตัว ยาประจำ หรือประวัติการแพ้ยา
  • ลางานแค่ในวันผ่าตัด หรือไม่เกินสามวัน เพราะหลังผ่าตัดมักไม่มีการปวดแผลรุนแรง
  • เวลาแผลหาย โดยเฉลี่ย ในสัปดาห์แรกแผลจะเริ่มแห้ง สัปดาห์ที่ 2 แผลจะเริ่มตกสะเก็ด สัปดาห์ที่ 3 ไหมละลายหลุด ควรเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังผ่าตัด 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆไป เช่น ถ้ามีโรคเบาหวานหรือแผลติดเชื้อก็อาจใช้เวลานานขึ้น

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)


เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ประภากร ก๋งอุบล

นพ. ประภากร ก๋งอุบล

ศูนย์ศัลยกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital