บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคคู่หน้าร้อน ท้องเสียทุกหน้าร้อนเลย ทำอย่างไรดี

1. ท้องเสีย ทำให้ตายได้เชียวหรือ ส่วนใหญ่ ก็หายง่าย ๆ นี่นา


ตอบ ปกติท้องเสีย มีตั้งแต่ง่าย ๆ ถ่ายไม่กี่ครั้งก็หายเองได้ ก็จริงอยู่ แต่ผมอยากเตือนว่ามันอาจอันตรายจนเสียชีวิตได้ด้วย โดยต้องแยกโรคร้ายแรงดังนี้


1.1 ภาวะที่คล้ายว่ามีท้องเสีย แต่จริงๆแล้วเป็นโรคอื่น ที่ทางการแพทย์ไม่ได้จัดอยู่ในภาวะท้องเสีย


ก. แยกภาวะเลือดออกทางเดินอาหารก่อน ภาวะนี้ถ่ายมาก แต่ลักษณะอุจจาระที่ออกมาจะดำมาก เหลว คล้ายยาง มะตอย อาจปนกับอุจจาระปกติด้วย ต้องสังเกตให้ดี บางครั้งอาจสีคล้ำคล้ายน้ำตาล ถ้าสังเกตไม่ออกอาจมีกลิ่นเฉพาะ คือคล้ายกลิ่นอุจจาระสุนัขที่กินตับ หรือ เลือด เพราะเลือดที่ออกมาปนกับน้ำย่อยลำไส้ส่วนต้นจะเปลี่ยนสี และ กลิ่นไป


– กรณีกินยาบำรุงเลือด อาจถ่ายดำเช่นกัน แต่ไม่มีกลิ่นดังกล่าว และ อุจจาระมักแข็งปกติ


– การถ่ายเป็นเลือดเอง หรือ ถ่ายมีมูกเลือด ให้นึกถึงลำไส้มีเนื้อตายเน่า หรือ มีมะเร็ง ก็ถ่ายเป็นเลือดเช่นกัน แต่มักปวดท้องร่วมด้วย


ข. โรคที่เกิดหลาย ๆ กลุ่มอาการ โดยมีอาการท้องเสียร่วมด้วย เช่นโรคติดเชื้อจากเชื้อ มีลิออยโดซิส (melioidosis) อาจลักษณะอุจจาระคล้ายอหิวาห์ ก็ได้ เป็นต้น (cholera like) โรคติดเชื้อไข้รากสาด อาจมีท้องเสียไม่มาก แต่มีภาวะไข้สูง และ หมดแรงร่วมด้วยได้


1.2 โรคติดเชื้อท้องเสีย ที่เกิดปัญหาโรคแทรกซ้อนร่วม ที่อาจถึงแก่ชีวิตได้เช่น


1.2.1 ไตวาย แบบ เม็ดเลือดแดงแตกที่เรียกว่า HUS ได้แก่เชื้อแบคทีเรียบิด (Shigella), เชื้ออีโคไล (EHEC)


1.2.2 มีภาวะข้ออักเสบร่วมด้วย ที่เรียกว่า Reiter เช่นเชื้อไข้รากสาด (Salmonella), เชื้อบิด (Shigella), เชื้อแบคทีเรีย Campylobacter, yersinia


1.2.3 ท้องเสียเกิดจากโรคไทรอยด์ (Thyroid), โรคเยื่อหุ่มหัวใจ (pericarditis), ไตอักเสบ (Glomerulonephitis) ร่วมด้วยเช่น Yersinia เป็นต้น


1.2.4 โรคในช่องท้องเอง หรือ โรคติดเชื้อที่มีอาการหลายระบบ (Systemic Disease เช่นภาวะตับอักเสบ (hepatitis), เชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Listeriosis, Legionellosis เป็นต้น


1.2.5 ภาวะแบคทีเรียที่กัดกร่อนร่างกาย และ ลำไส้ (Toxic shock), มีการแตกของอวัยวะในร่างกาย หรือ มีฝีในร่างกาย (rupture organ +/– intraabdominal abscess)


1.2.6 โรคภูมิต้านทานต่อลำไส้ตัวเองที่เรียกว่า ulcerative colitits


1.2.7 โรคท้องเสียจากพยาธิ (Parasite)


1.2.8 โรคติดเชื้อในกระแสเลือด หรือ พิษติดเชื้อ ที่มีท้องเสียร่วมด้วย (Sepsis)


1.2.9 ท้องเสียที่เกินอัมพาตร่วมด้วย จากเชื้อ Botulism ที่เป็นข่าวทานหน้อไม้อัดปี๊ป แล้วเข้า ICU กันไงครับ


ไหน ๆ พูดเกี่ยวกับท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากติดเชื้อธรรมดาแล้ว ผมจะ ไล่ท้องเสียอื่น ที่ไม่ได้ทำให้เกิดเสียชีวิต แต่เป็นสาเหตุท้องเสียได้เช่นกัน ดังนี้ครับ


1.2.10 สาเหตุท้องเสียที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้ออื่น (Non infectious) เช่น ท้องเสียจากเนื้องอก (Tumor), ท้องเสียจากการฉายแสง (Radiation), ท้องเสียจากอาหาร หรือ แพ้อาหาร ท้องเสียจากยา ท้องเสียจากเบาหวาน ท้องเสียจากอุจจาระแข็งอุดตัน ร่วมทั้งคนแกล้งท้องเสียหลอกหมอ เป็นต้น


2. สาเหตุที่กล่าวมามากมายขนาดนั้น แล้วส่วนใหญ่คนไทยเกิดจากอะไรครับ


ตอบ ส่วนใหญ่คนไทยยังคงเกิดจาก อาหารเป็นพิษติดเชื้อ หรือ จากการติดเชื้อลำไส้ใหญ่อักเสบที่เรียกว่าบิด ฉะนั้นถ้าดูแล้ว ไม่มีอาการร่วมที่บอกว่าเป็นโรคอื่น ก็แทบ 95 – 100 % เกิดจากการติดเชื้อ


3. ก็แสดงว่าถ้าเกิดจากติดเชื้อ ทุกคนที่ท้องเสียก็น่าหายด้วยยาฆ่าเชื้อ ใช่หรือเปล่าครับ


ตอบ ที่จริงแล้ว การฆ่าเชื้อในลำไส้ของเราเอง มีมากมายหลายอย่าง เรียกว่าแบคทีเรียที่เข้ามาในตัวคนโชคร้าย ทรมานสุด ๆ มักถูกฆ่าตายหมด บางคนบอกว่าโชคร้ายกว่าคน ๆ ที่เชื้อเข้าไปซะอีก สรุปคือจะหายเองได้ โดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าเชื้อใด ๆ ครับ การให้ยาฆ่าเชื้อเอง ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากยาฆ่าเชื้อ หรือ อาจแพ้ยา ทำให้เชื้อดื้อยา กำจัดเชื้อธรรมชาติในลำไส้ ทำให้เชื้อเหล่านี้เองที่เป็นตัวกำจัดเชื้อที่รุนแรงเป็นสาเหตุก่อโรคท้องเสียหายไป ถูกกำจัดช้าลง ทำให้หายลงด้วยครับ ข้อบ่งชี้ในการให้ยาฆ่าเชื้อ คร่าว ๆ มีดังนี้ครับ


3.1. ในการติดเชื้อบางอย่างซึ่งต้องวินิจฉัยโดยแพทย์นะครับ จะหายเร็วกว่าเดิมครับ


3.2. เชื้อที่เรียกว่า C.difficile, E.histolytica, Balantidium coli ซึ่งต้องวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือ ต้องใช้การเพาะเชื้อร่วมด้วย


3.3. ในบางคนที่มีต้นเหตุจาก เชื้อ หรือ สาเหตุที่ทำให้ถ่ายหายช้า ซึ่งคงต้องให้แพทย์ซักประวัติ ตรวจ และ ค้นหาสาเหตุให้ครับ (persist diarrhea)


4. เมื่อไร ท้องเสียต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อรักษาครับ


ตอบ มีข้อบ่งชี้ในการรักษาตามมาตรฐานดังนี้ครับ


4.1 เสียน้ำรุนแรง อ่อนเพลีย (severe hypovolemia)


4.2. มีไข้


4.3 เป็นการติดเชื้อแบบลำไส้ใหญ่ (inflammation)


4.4 มีอาการปวดท้อง


4.5 ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว อ่อนแอ อาการหนัก หรือแย่ลง


4.6 มีการระบาดของโรคนี้


4.7 มีท้องเสียหายช้ามากกว่า 3 วัน


5. ท้องเสียแบ่งเป็นอะไรบ้าง บิดคืออะไร ท้องเสียแบบอาหารเป็นพิษต่างกับท้องเสียอื่น ๆ อย่างไร


ตอบ ท้องเสียจริง ๆ แล้วท้องเสียจากการติดเชื้อ สามารถแบ่งเป็น


5.1ท้องเสียแบบลำไส้เล็กซึ่งทางการแพทย์จะเรียกว่าอาหารเป็นพิษ (food poisoning)


5.2 ลำไส้ใหญ่หรืออาจเรียกว่าบิดแบบไม่มีตัว (colitis, dysentery)


5.3 ไข้รากสาด


ลักษณะของโรคเป็นดังนี้ :::::::::::::::


5.1 อาหารเป็นพิษ จะถ่ายเป็นน้ำออกมาก ไม่ปวดท้อง ถ่ายออกมาก แต่นาน ๆ ครั้ง ไม่มีปวดบิดเบ่ง เพลียแบบขาดน้ำเร็ว ตัวอย่างได้แก่อหิวาห์ครับ


5.2 โรคบิดไม่มีตัว หรือ ลำไส้ใหญ่อักเสบ จะถ่ายเป็นน้ำออกน้อย มีมูก หรือ เลือดปน มักปวดท้องซึ่งมักตรงกลาง หรือ ด้านล่างร่วมด้วย ถ่ายไม่มาก แต่บ่อยครั้ง มีปวดบิดเบ่งคล้ายถ่ายไม่สุดร่วมด้วย เพลียแบบติดเชื้อมีไข้ปวดเมื่อยเด่น ตัวอย่างได้แก่ติดเชื้อบิดไม่มีตัว หรือ shigella เป็นต้น


5.3 ไข้รากสาด จะถ่ายไม่มาก มีไข้เด่น อาจมีอาการร่วมหลาย ๆ ระบบ และ อุจจาระมักมีเม็ดเลือดขาวลักษณะเฉพาะคือเป็นแบบ mononuclear cells


6. การใช้น้ำอัดลมเขย่าฟอง จะช่วยทดแทนน้ำได้ดีพอ อย่างที่สอน ๆ กันมาหรือไม่


ตอบ ปัจจุบันความคิดนี้ หลังศึกษาออกมาพบว่าเปลี่ยนไป ไม่ได้ผล เข้าใจผิดอย่างชัดเจนครับ การกินน้ำเกลือแร่เองแบบที่เป็นขวด ก็พบว่าเข้มข้นมากไปด้วย ควรกินเฉพาะเกลือแร่ซองมากกว่า โดยถ้าให้ดูดซึมน้ำทดแทนได้ดีมาก ๆ น่าเป็นทานร่วมกับน้ำข้าวต้มที่ใส่เกลือ หรือ น้ำปลา จะทดแทนน้ำได้ดี ห้ามให้น้ำอัดลมดังกล่าวทดแทนครับ เพราะ ความหวานจะดึงน้ำลงลำไส้ ยิ่งเกิดปัญหาขาดน้ำมากขึ้น หรือ ช๊อคง่ายขึ้นได้ด้วยครับ


7. เวลาท้องเสียควรอดอาหาร เพื่อให้ถ่ายน้อยลง จริง หรือไม่


ตอบ พบว่าเข้าใจผิดอย่างมากครับ ปัจจุบันพบว่า เวลาน้ำที่ถ่ายออกมาจริง ๆ แล้ว ออกมาจากการหลั่งของผนังลำไส้มากกว่า อาหารที่ทานเข้าไปครับ คือ น้ำที่ทานจะดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย และ ไต ของคนนั้นก่อน ส่วนน้ำที่ถ่ายออกมาขับออกมาจากผนังลำไส้ภายหลังครับ การอดอาหารทำให้ร่างกายเพลีย ช๊อค หรือ เกิดไตวายแทรกซ้อนครับ ส่วนที่แพทย์ให้อดอาหาร ในรายที่ท้องเสียมักเป็นการแยกโรคในภาวะท้องเสียเรื้อรังเท่านั้นครับ หรือ รายที่แพทย์ดูว่าสาเหตุชัดเจนแล้วว่าน่าจากปัญหาการดูดซึมอาหารมากกว่า หรือ ได้รับน้ำจากน้ำเกลือหรือจากการทานเพียงพอ แล้วเท่านั้นครับ


8. การกินอาหารที่ร้อนดี ดูทำสะอาดรสดี ยังมีโอกาสเป็นอาหารเป็นพิษได้อีกเหรอครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital