บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคหลอดเลือดสมอง รู้เร็ว รักษาไว ห่างไกลอัมพฤกษ์ อัมพาต

เราเคยได้ยินเรื่องอันตรายของโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ Stroke และมองว่าเป็นโรคหนึ่งที่น่ากลัว แต่ก็ยังเพิกเฉยไม่ดูแลตัวเอง แต่รู้หรือไม่ อันตรายจากโรคนี้ร้ายแรงกว่าที่คิด วันหนึ่งอาจเป็นเรา ที่นั่งทำงานอยู่ดีๆ เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยวหน้าเบี้ยว หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ขึ้นมากะทันหัน ทั้งที่ก่อนหน้าอาการก็ยังดีๆ อยู่ ในอดีตโรคนี้มักเกิดในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันกลับพบในคนวัยทำงานยุคใหม่เพิ่มขึ้น เพราะโรคหลอดเลือดสมองอุดตันไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนมีความเสี่ยง


โรคหลอดเลือดสมอง คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน หรือ หลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื้อสมองถูกทำลาย และการทำงานของสมองบางส่วนหรือทั้งหมด ทำงานผิดปกติ อาการเกิดขึ้นทันทีทันใด โรคหลอดเลือดสมอง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โดยหลอดเลือดสมองตีบ เกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้ประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง ส่วนหลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากลิ่มเหลือดจากหัวใจไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง
  2. หลอดเลือดตีบ แตก หรือฉีกขาดเกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบาง ซึ่งเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง หรือหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้แตกง่าย ส่งผลทำให้เกิดเลือดออกในสมอง และเกิดความเสียหายต่อสมองตามมา

วิธีการสังเกตอาการโรคหลอดเลือดสมองในเบื้องต้นตามหลัก FAST ได้แก่


F (Face) ผู้ป่วยจะมีอาการหน้าเบี้ยว หรือปากเบี้ยวด้านใดด้านหนึ่ง หรือผู้ป่วยบางท่านอาจมีอาการระหว่างรับประทานอาหาร เช่น อาหารไหลออกจากปาก หรือน้ำลายไหลออกจากมุมปากด้านใดด้านหนึ่ง ทดสอบง่ายๆ ได้โดยให้ผู้ป่วยลองยิ้ม หรือยิงฟัน


A (Arms) อาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยจะขยับแขนขาด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ โดยอาจจะเป็นเฉพาะขา หรือเป็นทั้งแขนขาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านเดียวกัน ทดสอบง่ายๆ โดยการให้ผู้ป่วยลองยกแขนขาทั้งสองข้าง ถ้าตกด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่ามีความผิดปกติ


S (Speech) ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้ เหมือนลิ้นคับปาก หรือบางคนมีอาการพูดไม่ออก หรือฟังคำสั่งไม่รู้เรื่อง ญาติบางคนคิดว่าผู้ป่วยสับสน ทดสอบได้ง่ายๆ ด้วยการให้ผู้ป่วยพูดตามในคำง่ายๆ เช่นกรุงเทพมหานคร หรือชี้ให้ดูปากกา นาฬิกา แล้วถามว่าของสิ่งนั้นเรียกว่าอะไร หรือให้ทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น ชูสองนิ้ว เป็นต้น


T (Time) เพราะเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การรีบนำผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะโรคหลอดเลือดสมองจากการสังเกตหลัก FAST ไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสมองตามระยะเวลาที่มากขึ้น เพราะ ทุกวินาทีที่ผ่านไป เซลล์สมองจะเสียหายมากขึ้น ซึ่งหากได้รับการรักษาที่รวดเร็ว จะช่วยลดความเสียหายของเนื้อสมอง มาตรฐานเวลาหรือ Magic number คือตัวเลขสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง Stoke Golden Hour ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสรอดและลดเสี่ยงอัมพาตได้นั้นอยู่ที่ไม่เกิน 4.5 ชั่วโมงหลังจากพบอาการ


โรคหลอดเลือดสมองป้องกันได้


หากหมั่นออกกําลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก ลดการรับประทานอาหารจำพวกที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด เพิ่มผักผลไม้ งดสูบบุหรี่ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจสุขภาพเป็นประจําทุกปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มาของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะโรคอ้วน สูบบุหรี่ เป็นต้น


การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง


ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรงและระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาแบบทันทีทันใด โอกาสห่างไกลจากความพิการและอัตราการเสียชีวิต ก็จะลดน้อยลงมากเท่านั้น นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองอยู่แล้ว ควรได้รับการรักษาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เนื่องจาก ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคนี้แล้ว มีโอกาสสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และอัตราการเกิดนี้ เกิดซ้ำมากกว่าคนปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital