บทความสุขภาพ

Knowledge

มารู้จักโรคภูมิแพ้กันเถอะ

โดย (พ.ญ.วิลาวัณย์ เวทไว)


อาการต่าง ๆ ของโรคภูมิแพ้ สามารถบรรเทาจนเป็นปกติเพราะยาที่ใช้รักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น


บทความใน “9 ทันโรค” ฉบับนี้ จะกล่าวถึงโรคภูมิแพ้ทางระบบหายใจเพราะคนส่วนใหญ่เป็นกันมาก บางคนเรียกโรคน้ว่าโรคแพ้อากาศหรือโรคจมูกอักเสบ จะเรียกยังไงก็แล้วแต่นะคะ แต่อาการต่าง ๆ สามารถบรรเทาลงจนรู้สึกดีเป็นปกติได้แล้วในยุคนี้ เพราะยาที่ใช้รักษามีประสิทธิภาพดีมากและมีผลข้างเคียงน้อย จึงไม่ต้องทนทรมานกับอาการจาม คันจมูก คันตา อยู่ประจำ หลายคนที่มาตรวจบอกว่ามีอาการคัดจมูกจนบ่อยครั้งต้องอ้าปากหายใจ ทำให้เจ็บคอ ปวดหัว เพลีย สมาธิไม่ดี หงุดหงิดง่าย บางคนปล่อยเรื้อรังจนทำให้มีโรคไซนัสอักเสบแทรกซ้อน มีน้ำมูกและเสมหะเขียวเหลืองยากแก่การรักษาให้หายขาด


การกำจัดสารแพ้ช่วยได้จริงหรือ

คนส่วนหนึ่งที่มีปัญหาด้านจมูกพบว่า แพ้สารที่เราหายใจเข้าไปนั่นแหละ โดยเฉพาะฝุ่นในบ้านหรือที่ทำงานซึ่งประกอบไปด้วยไรฝุ่นจากผ้า ขนสัตว์เลี้ยง ซากแมลง เชื้อรา ควันบุหรี่ เมื่อเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเสียใหม่อาการก็จะทุเลาลงมาก การทำ Allergy skin test คือ การทดสอบว่าแพ้อะไรโดยสะกิดเบา ๆ ลงบนท้องแขน จะช่วยให้ทราบว่าแพ้อะไรบ้างภายใน 30 นาทีและทำได้แม้ในเด็กทารก


ยารักษาภูมิแพ้และวัคซีนรักษาภูมิแพ้

เดี๋ยวนี้ยารักษาภูมิแพ้ ไม่ใช้ยาที่มีผลข้างเคียงแบบในอดีตที่ทำให้อ้วน เพราะมีสเตียรอยด์ในปริมาณมากเพราะในสมัยก่อนไม่มีทางเลือกอื่น ยาในปัจจุบันแบบกินและยาพ่นจมูก สามารถใช้ติดต่อกันอย่างปลอดภัยแม้แต่ในเด็ก ๆ


แต่บางคนไม่ชอบวิธีกินยาหรือพ่นจมูกไปตลอดจึงเลือกวิธีฉีดวัคซีน (Allergen Immunotherapy

หรือ Allergy shots) ซึ่งคนไข้ในประเทศแถบยุโรปและอเมริกานิยมกันมาก เพราะทำให้อาการทุเลาลงได้กว่า 80% เป็นการสร้างภูมิต่อต้านสารแพ้ให้มากกว่าเดิม 500 – 1000 เท่า โดยไม่ต้องกินยาประจำ ใช้เวลาฉีด 2-3 ปี ต่อเนื่องเพื่อให้ภูมิต้านทานคงอยู่ไปกว่า 10 ปี


การฉีดยา มักเริ่มในเด็กที่โตหน่อย ประมาณ 8 – 10 ขวบหรือวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ข้อเสียคือหลายคนไม่ชอบฉีดยา กลัวเจ็บ บางคนไม่มีเวลามาฉีดสม่ำเสมอ


อ่านถึงตรงนี้ คงพอจะได้ไอเดียวิธีเอาชนะโรคภูมิแพ้ไปพอสมควรนะคะ

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital