บทความสุขภาพ

Knowledge

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) เป็นอย่างไร

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy)

ตอบคำถาม Q&A จากศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า


Q1: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงตาบอด มากกว่าคนปกติเพราะอะไร

A: ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงโรคตามากขึ้น ทั้งต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทตาและเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาผิดปกติ และเบาหวานขึ้นจอตา(Diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของตาบอดในประชากรโลกปัจจุบัน


ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 2-3 ปี พบเบาหวานขึ้นตาร้อยละ 3-4 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15-20 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี


Q2: สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา

A: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำลายผนังหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้เกิดโป่งพอง อุดตัน มีการรั่วซึมของสารน้ำและเม็ดเลือด เกิดจอประสาทตาบวม จอตาขาดเลือดจึงงอกเส้นเลือดใหม่ซึ่งเปราะ แตกง่ายเกิดเลือดออกเข้าวุ้นตาทำให้ตามัวจนถึงตาบอด หรือเกิดพังผืดดีงรั้งจอตาทำตาบอดได้เช่นกัน


Q3: ป้องกันเบาหวานขึ้นตาได้อย่างไร

A: ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้ปกติ


Q4: การตรวจโรคเบาหวานขึ้นตาทำอย่างไร

A: แนะนำผู้ป่วยเบาหวานทุกรายตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยการตรวจประกอบด้วย

  • การวัดสายตา
  • การวัดความดันลูกตา
  • หยอดยาขยายม่านตา เพื่อให้ตรวจจอตาได้ชัดเจน ซึ่งยาทำให้ตาลายชั่วคราวประมาณ 4 ชม. ไม่สามารถขับรถได้ และรอม่านตาขยาย 1 ชม. จึงตรวจได้
  • ตรวจ Slit lamb เพื่อดูกระจกตาและส่วนหน้าของตา
  • ตรวจจอประสาทตาด้วย Indirect Ophalmoscope

Q5: โรคเบาหวานขึ้นตารักษาอย่างไร

A: ระยะต้น เพียงควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ปกติ


ระยะต่อมา รักษาด้วยการฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตา ยับยั้งไม่ให้ลุกลาม หรือการฉีดยา Anti-vascular endothelial growth factor เข้าวุ้นตา เพื่อลดการงอกของหลอดเลือดใหม่


ในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น การดึงรั้งจอประสาทตาจนหลุดลอก ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital